ตอนที่ 1 ควรเตรียมความพร้อมก่อนการมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลียอย่างไร?

ตอนที่ 1 นำเสนอเรื่องเตรียมความพร้อมก่อนการมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลียอย่างไร?

BY สนร.ออสเตรเลีย Blogger

การเดินทางในออสเตรเลีย

ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในประเทศออสเตรเลีย มีความหลากหลายและสะดวกสบายมากทีเดียว ใช้เวลาเพียงไม่นานก็น่าจะสามารถคุ้นเคย ทุกเมืองของประเทศออสเตรเลีย ล้วนมีบริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งสิ้น แต่จะเดินทางด้วยวิธีการใดให้ถึงจุดหมายรวดเร็วที่สุดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ การเดินทางที่เราแนะนำเป็นพิเศษคือรถบัสที่มีอยู่หลาย วิ่งสายครอบคลุมแทบทุกพื้นที่และสถานที่สำคัญต่างๆ ภายในเมือง แถมยังมีราคาประหยัดกว่าแท็กซี่มากทีเดียว

ทุกเมืองจะมีสถานีรถบัสเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถเข้าไปข้อมูลเส้นทางการเดินรถและราคาตั๋วได้จากจุดประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้อีกด้วย อย่างเช่น ตั๋วราคาพิเศษสำหรับนักศึกษา ตั๋วรายสัปดาห์ หรือตั๋วรายเดือน ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้พอสมควร หลายเมืองในประเทศออสเตรเลีย ส่งเสริมให้ประชาชนใช้จักรยานเป็นยานพาหนะในการเดินทาง เพื่อความสะดวก ประหยัด ช่วยลดมลพิษ และยังเป็นการออกกำลังกายอีกด้วย

รถไฟ : รถไฟของออสเตรเลียเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเหมาะสำหรับการเดินทางข้ามเมืองเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่า จะต้องการเดินทางไป Sydney, New South Wales หรือ Newcastle ก็ล้วนแล้วแต่มีรถไฟให้บริการทั้งสิ้น และหากซื้อตั๋วรายเดือน หรือ ตั๋วสำหรับท่องเที่ยว ก็จะมีส่วนลดให้ด้วย เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการ จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทาง  นอกจากนี้บางเมืองอาจจะมีส่วนลดค่าตั๋วให้กับนักศึกษาด้วย ควรลองสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานีดู

การเดินทางข้ามเมือง : อีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะแก่การเดินทางข้ามเมืองก็คือรถโค้ช ซึ่งมีจุดหมายปลายทางให้เลือกหลากหลายมาก และโดยส่วนมากจะมีราคาตั๋วถูกกว่ารถไฟ แต่ก็จะใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานกว่า ผู้ที่จะเดินทางโดยรถโค้ชจึงอาจจะต้องเป็นคนที่มีเวลาว่างหรือไม่รีบร้อนมากนัก ถึงแม้การเดินทางข้ามเมืองด้วยรถไฟจะมีราคาแพงกว่ารถโค้ช แต่ก็มีหลายวิธีมากที่จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ถูกลงได้ อย่างเช่นการวางแผนซื้อตั๋วล่วงหน้า ส่วนใหญ่ก็จะได้ราคาตั๋วที่ถูกกว่าซื้อในวันเดินทาง หรือบางทีก็อาจจะมีโปรโมชั่นลดราคาสำหรับคนที่ซื้อตั๋วพร้อมกันหลายใบด้วย

บางครั้งการเดินทางของก็อาจจะต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า 1 ประเภท ในกรณีนี้ก็ต้องหาข้อมูลให้ดีว่า จะมีตั๋วแบบที่ซื้อครั้งเดียวแล้วเดินทางด้วยรถได้หลายชนิดหรือไม่ จะได้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น หรือในบางกรณีถ้าลองเช็คดีๆ อาจจะพบว่า การซื้อตั๋วแบบไปกลับแยกกัน อาจจะถูกกว่าซื้อตั๋วไปกลับในใบเดียว ก่อนออกเดินทางก็ควรหาข้อมูลด้วยว่ารถโดยสารที่เรานั่งผ่านเส้นทางไหนบ้าง บางทีอาจพบว่าระหว่างเส้นทางนั้น มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจให้แวะชมเพิ่มขึ้น

 

การนำเงินสดเข้าออสเตรเลีย

ควรนําเงินสดสกุลดอลล่าร์ออสเตรเลียไปให้พอสําหรับใช้ในช่วงแรกที่อยู่ ในออสเตรเลีย แต่ไม่ควรนําเงินสดติดตัวไปจํานวนมากเกินไป ควรซื้อ เช็คเดินทางประมาณ 1,500 – 3,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (ในชื่อของคู่มือเรียนต่อและใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย > 7 นักเรียน) ติดตัวไปเพื่อให้สามารถจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆในช่วงแรก ได้ หากนําเงินจํานวนกว่า 10,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย หรือเทียบเท่า จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบเมื่อเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย

ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ คือ ระบบ 240 V. AC 50 Hz เหมือนในประเทศไทย แต่จะใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ซึ่งต่างจากบ้านเรา หากต้องการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าไปด้วย ควรจะเตรียมปลั๊กไฟฟ้า 3 ขา ดังในรูปภาพไปด้วย โดยแนะนำให้นำปลั๊กสามตาไปด้วยเพื่อต่อพ่วงเพื่อที่จะสามารถใช้ชารจ์ไฟฟ้าได้หลายอย่างในครั้งเดียวกัน หากไม่ได้นำติดตัวไป สามารถซื้อได้ที่ร้านจีนที่ออสเตรเลีย ราคาอันละประมาณ 5 เหรียญ

น้ำประปา

การประปาของประเทศออสเตรเลียมีระบบการทำน้ำประปาที่สะอาดมาก ซึ่งเราสามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำตามบ้านหรือสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านการกรองได้ โดยสามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเย็นเท่านั้น ส่วนน้ำร้อนนั้นไม่ควรดื่ม เพราะมีการเติมสารเคมี

อาหาร

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรม การกินของชาวออสเตรเลียนอย่างแท้จริง แนะนำให้ไปลองชิม อาหารพื้นเมืองออสเตรเลียขนานแท้ ได้แก่ Shepherd Pie หรือจะเป็นอาหารจานโปรดของชาวออสซี่ เช่น Vegemite ถ้าเอ่ยถึงของหวานก็จะเป็น Lamington หรือ Lemmington ขนมหวานออสเตรเลียนที่ใครได้ลองเป็นต้องติดใจไปทุกราย ซึ่งนิยมทานกับน้ำชาหรือกาแฟยามบ่าย ทั้งหมดนี้ ท่านสามารถลิ้มลองได้จากร้านอาหารของโรงแรมในออสเตรเลีย ที่ท่านไปพัก นอกจากนี้ ในออสเตรเลียยังมีภัตตาคาร และร้านอาหารไทยอยู่มากมายตามเมืองต่างๆ เพราะมีชาวไทยไปเรียน และไปทำงานกันมาก

การซื้ออาหารและของใช้ : เมืองต่างๆในออสเตรเลียมีห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Kmart และ Target และห้างสรรพสินค้า เช่น ห้าง Myer และ David Jones แถบชานเมืองของเมืองใหญ่จะมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และ ช็อปปิ้งมอลล์ มีร้านขายของหลากหลาย ทั้งร้านเสื้อผ้า, ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า, และของใช้ในบ้าน และร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เช่น Coles, Woolworths, IGA และ Aldi ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายและมีชาวต่างชาติ หลากหลายเชื้อชาติเข้ามาพํานักซึ่งจะพบความหลากหลายของอาหาร นานาชาติในซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมี ร้านอาหารขนาดเล็กที่ขายอาหารชาติต่างๆ ในขณะที่ร้านอาหารแบบซื้อ กลับบ้าน และร้านอาหารต่างๆที่มีอยู่มากมาย ก็มีอาหารรสชาติที่ นักเรียนคุ้นเคยให้ได้ลิ้มลอง เวลาเปิด-ปิดร้านค้าในประเทศออสเตรเลียมีการควบคุมโดยแต่ละรัฐและ เขตการปกครอง โดยทั่วไป วันและเวลาทําการสําหรับร้านค้าในประเทศ ออสเตรเลีย สําหรับวันจันทร์ถึงศุกร์ คือ เวลา 8.00 น. – 17.30 น. โดย ในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ ร้านค้าส่วนใหญ่จะเปิดถึงเวลา 21.00 น. ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ร้านค้าส่วนใหญ่ เปิดเวลา 10.00 น. ” 16.00 น. ยกเว้นย่านการค้า ร้านค้าจะปิดช้ากว่า

เครื่องดื่ม : ประเทศออสเตรเลียมีการผลิตไวน์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ชาวออสซี่ส่งออกไวน์มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ลองจากอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส อุตสาหกรรมไวน์ทำเงินให้กับประเทศออสเตรเลียถึงปีละ 5.5 ล้านดอลล่าร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเช่นเบียร์ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน โดยได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ที่เจ้าอาณานิคมเอาเหล้ารัมเข้ามาเผยแพร่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบการสังสรรค์และดื่มแอลกอฮอล์บ้างเล็กน้อย ออสเตรเลียก็น่าจะเป็นประเทศที่เหมาะกับคุณไม่น้อย

นอกจากมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องไวน์และเบียร์แล้ว ออสเตรเลียยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมกาแฟอีกด้วย กาแฟยี่ห้อ Victoria ของออสเตรเลียเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากคอกาแฟว่ามีรสชาติดีทีเดียว หากคุณมีโอกาสได้มาออสเตรเลีย เราขอแนะนำให้ลองชิม ‘flat white’ กาแฟลาเต้แบบไร้ฟองนม ที่ชาวออสเตรเลียคิดค้นขึ้น

การติดต่อสื่อสาร

ไปรษณีย์ : ที่ทำการไปรษณีย์ออสเตรเลีย เปิดทำการเวลา 09.00-17.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ บางแห่งอาจเปิดทำการในวันเสาร์ 09.00-12.00 น. ด้วย ไปรษณีย์ออสเตรเลียให้บริการหลายอย่าง เช่น ขายแสตมป์ ซองจดหมาย โปสการ์ด บัตรโทรศัพท์ และขายโทรศัพท์มือถือ กับให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ (เช่น บริษัท Western Union) ด้วย ค่าส่งโปสการ์ดจากออสเตรเลียมาเมืองไทย 1.45 เหรียญ ค่าส่งจดหมายเริ่มที่ 1.50 เหรียญ ซองจดหมายที่มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน จะเสียค่าส่งแพงกว่าปกติ ที่ทำการไปรษณีย์และ Post Shop จะมีโปสการ์ดแบบที่รวมค่าส่งไว้แล้วจำหน่าย ไปรษณีย์ออสเตรเลีย หรือ ออสเตรเลียนโพสต์ มีความน่าเชื่อถือและมี ประสิทธิภาพด้วยการจัดส่งวันถัดไปภายในเมืองเดียวกัน ไปรษณีย์ ออสเตรเลียส่งจดหมายวันละครั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สามารถดู ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.austpost.com.au

โทรศัพท์ : รหัสทางไกลของประเทศออสเตรเลียคือ 61 ออสเตรเลียมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย การโทรศัพท์แบบใช้สายภายใน เขตจะไม่จํากัดเวลา และมีค่าบริการประมาณ 40 เซ็นต์ การโทร ระหว่างรัฐและระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ออสเตรเลียมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลายราย สามารถซื้อโทรศัพท์ แบบชําระเงินล่วงหน้าหรือเรียกเก็บเงินภายหลัง โทรศัพท์แบบเติมเงิน เป็นตัวเลือกที่ดีสําหรับนักเรียนที่มีเงินจํากัด โดยจ่ายเงินซื้อ เครื่องโทรศัพท์ (โทรศัพท์แบบการใช้งานธรรมดาสามารถซื้อได้ในราคา ตํ่ากว่า 100 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย) แล้วเติมเงินเก็บไว้ สามารถใช้ได้หลาย เดือน โทรศัพท์มือถือแบบเรียกเก็บเงินส่วนใหญ่จะเป็นการให้ฟรี โดยต้องใช้ บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้นๆเป็นเวลาสองปี ผู้ให้บริการโทรศัพท์ราย ใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ Telstra, Optus, Virgin Mobile และ Vodafone

การโทรออกต่างประเทศ: สําหรับการโทรออกไปต่างประเทศจาก ออสเตรเลีย กดรหัส (0011) + รหัสประเทศ + รหัสพื้นที่ (ถ้ามี) + หมายเลขโทรศัพท์

การโทรภายในประเทศ: สําหรับโทรออกภายในประเทศออสเตรเลีย กดรหัสพื้นที่ (หากจะโทรไปยังพื้นที่อื่น หรือ โทรต่างรัฐ) + หมายเลข โทรศัพท์ รหัสพื้นที่สําหรับรัฐต่างๆ มีดังนี้

(02) รัฐนิวเซาธ์เวลส์, ออสเตรเลียน แคปิตอล แทริทอรี่

(03) รัฐวิกตอเรีย, รัฐแทสมาเนีย

(07) รัฐควีนส์แลนด์

(08) รัฐเซาท์ออสเตรเลีย, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและ นอร์ทเทิร์นแทริทอรี

 

โทรฉุกเฉิน : ตำรวจท้องถิ่น ในสถานการณ์ที่ไม่ฉุกเฉิน

  • รายละเอียดการติดต่อ- โทร 131 444 (ทุกเมืองยกเว้นเมืองวิคตอเรีย). ในวิคตอเรียท่านจะต้องโทรไปที่สถานีตำรวจท้องถิ่น (สอบถามเบอร์โทรได้ที่โทรศัพท์ท้องถิ่นโดยตรง)
  • รายละเอียดการให้บริการ– มีการตรวจตราดูแลโดยตำรวจในกรณีที่ไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน

ธนาคาร

ธนาคารในออสเตรเลียเปิดให้บริการวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 09.30-16.00 น. วันศุกร์ขยายเวลาถึง 17.00 น. บางธนาคารเปิดทำการวันเสาร์ในช่วงครึ่งวันเช้าด้วย ธนาคารหลักๆ เช่น ANZ, Commonwealth, National, Westpac และธนาคารในเครืออยู่ทุกแห่งมีสาขาอยู่ทั่วออสเตรเลีย และมีหลายแห่งที่ให้บริการตู้เอทีเอ็มตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทุกตู้รับบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารอื่น และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายนานาชาติได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ Eftpos (การโอนเงินทางอีเล็กทรอนิกส์ ณ จุดซื้อขาย) ก็เป็นบริการแสนสะดวกที่ธุรกิจของออสเตรเลียหลายแห่งได้นำเข้ามาใช้แล้ว นั่นหมายความว่า ท่านสามารถใช้บัตรธนาคารของท่าน (บัตรเครดิตหรือเดบิต) ในการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถเบิกเงินสดได้อีกด้วยบัตรเครดิตอย่างเช่นบัตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดสามารถใช้บริการได้ทุกประเภท เช่น ถอนเงินสดล่วงหน้าที่เคาน์เตอร์ของธนาคารและจากตู้เอทีเอ็มหลายๆแห่ง ส่วนบัตรชาร์จการ์ดอย่างเช่นไดเนอส์คลับและอเมริกันเอ็กซ์เพรส (Amex) นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายเมื่อเทียบกับสองแบบแรกการเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลียเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้มาเยือนจากต่าง ประเทศ แต่ต้องทำภายใน 6 สัปดาห์หลังจากมาถึงเพียงแค่แสดงหนังสือเดินทางและแจ้งที่อยู่ให้ธนาคารทราบ ทางธนาคารก็จะเปิดบัญชีและส่งบัตรเอทีเอ็มให้ท่าน แต่หากท่านเปิดบัญชีหลังจากที่เข้าเมืองมาแล้วเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ท่านต้องแสดงหลักฐานประจำตัวเพิ่มอีก ตัวอย่างเช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตร และใบขับขี่สากลพร้อมรูปถ่าย

Office Hours

สำนักงานทั่วไปเปิดทำการ 09.00-17.00 น. ในวันจันทร์-ศุกร์ บางสำนักงานอาจเปิดวันเสาร์ด้วยในระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. วันอาทิตย์สำนักงานและร้านค้าย่อยๆ มักจะปิด ยกเว้นร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยวและห้างสรรพสินค้าจะเปิดเวลา 10.00-16.00 น.และจะมีวันหนึ่งในสัปดาห์ที่ร้านค้าเปิดถึง 21.00 น. เรียกว่า เลทไนต์ช้อปปิ้ง (Late Night Shopping) โดยมากจะเป็นคืนวันพฤหัสบดีหรือศุกร์ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆ แต่ละรัฐจะมีเวลาเปิดร้านแตกต่างกันไป

 

 

 

วัฒนธรรมของออสเตรเลีย

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เพราะมีประชากรจากทั่วทุกมุมโลกมาอาศัยอยู่ที่นี่ ออสเตรเลียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทุกคนในประเทศจึงสามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ ซึ่งถือเป็นจุดร่วมสำคัญของคนในประเทศนี้ ถึงแม้จะเป็นประเทศที่รวมคนหลายเชื้อชาติไว้ด้วยกัน แต่ออสเตรเลียก็ถือเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก และมีอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมาก แต่ถึงอย่างไรคุณก็ควรรอบคอบ ระมัดระวังตัวตลอดเวลา และเก็บของสำคัญติดตัวไว้เสมอ การเดินทางมาอาศัยอยู่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมแปลกใหม่ บางคนอาจจะตกอยู่ในสภาวะ Culture Shock ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวล้วนเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของ

ประเทศนั้นๆ และเตรียมตัวเตรียมใจไปก่อนล่วงหน้า จะทำให้สามารถปรับตัวในระยะแรกได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเริ่มต้นชีวิตในต่างแดน คนออสเตรเลียส่วนใหญ่ ค่อนข้างเป็นคนสบายๆ ไม่ซีเรียส แต่ก็ไม่ได้มีนิสัยเหมือนคนไทยเสียทีเดียว ช่วงแรกอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคยบ้าง แต่เมื่ออยู่ไปสักพักและเริ่มเข้าใจขนบธรรมเนียมต่างๆ จะสามารถปรับตัวเข้ากับพวกเขาได้อย่างแน่นอน

บรรยากาศในมหาวิทยาลัย: สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย มักมีบรรยากาศที่อบอุ่น เป็นมิตร และยินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนเรื่องการแต่งกายก็ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด นักศึกษาสามารถเลือกใส่ได้ตามความชอบ และความเหมาะสมกับสภาพอากาศ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ยังยินดีให้ปรึกษาในเรื่องต่างๆ  โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องปรึกษาแค่เรื่องการเรียนเท่านั้น เมื่อมีปัญหาใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนหรือการใช้ชีวิต สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยได้ทันที โดยไม่ต้องเกรงใจหรือรู้สึกไม่กล้า พวกเขาพร้อมจะช่วยเหลืออยู่เสมอ และไม่ได้คิดว่ามันเป็นการรบกวนจนเกินเหตุแต่อย่างใด

การทักทาย : แต่ละเมืองของออสเตรเลียไม่ได้มีจำนวนประชากรมากนัก ผู้คนในเมืองส่วนใหญ่จึงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และมักเอ่ยคำทักทายเมื่อเดินสวนกันตามท้องถนน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่เคยพูดคุยกันมาก่อน เมื่อพบใครสักคนเป็นครั้งแรก การเช็คแฮนด์ด้วยมือขวา คือการทักทายแบบปกติที่ชาวออสเตรเลียนิยมทำกัน โดยทั่วไปแล้วชาวออสเตรเลียจะไม่ได้ทักทายกันแบบเป็นทางการมากนัก จะเน้นความสบายๆ ให้ทั้งสองฝ่ายที่พบกันรู้สึกผ่อนคลายมากกว่า คนออสซี่มักทักทายกันด้วยคำว่า “G’day, mate” เป็นศัพท์แสลงย่อมาจาก Good day mate มีความหมายประมาณว่า “เป็นไงเพื่อน” หรือหากยังไม่คุ้นเคยกับประโยคนี้ จะทักทายด้วยคำภาษาอังกฤษทั่วไปอย่าง ‘Hello’ และ ‘How are you?’ ก็ได้

มารยาทที่ควรรู้ : หากคุณได้รับเชิญจากเพื่อนในชั้นเรียน ให้ไปร่วมงานปาร์ตี้หรืองานปิ้งย่างบาร์บีคิว โดยทั่วไปแล้วแขกจะต้องนำเครื่องดื่ม อย่างเช่นไวน์หรือเบียร์ ติดไม้ติดมือไปร่วมงานด้วย และคุณควรสอบถามเจ้าของงานสักนิดว่า ต้องการให้นำอะไรไปร่วมแจมในปาร์ตี้เพิ่มอีกไหม หรือหากได้รับเชิญไปดินเนอร์มื้อค่ำที่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของบ้านจะจัดเตรียมทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว คุณควรหาของขวัญเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ดอกไม้หรือช็อกโกแลต ไปให้ตามธรรมเนียมของชาวออสซี่ด้วย

นอกจากนี้ยังมีมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ควรรู้อีกเล็กน้อยคือ คุณควรถือส้อมด้วยมือซ้าย ถือมีดด้วยมือขวา และไม่ควรวางข้อศอกไว้บนโต๊ะ ควรจะมีแต่มือเท่านั้นที่อยู่เหนือโต๊ะในขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร วัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กับวัฒนธรรมของชาวตะวันตก แต่ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันพอสมควร เมื่อมีโอกาสได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่แล้ว คุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเรื่องราวของชาวอะบอริจิน ชนพื้นเมืองเก่าแก่ของประเทศออสเตรเลียที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนแห่งนี้ มาตั้งแต่เมื่อ 60,000 ปีก่อน

 

 

หน่วยงานศุลกากรและป้องกันพรมแดนและกฎหมายกักและตรวจโรคติดต่อ

 (Customs and Border Protection and Quarantine laws)

คุณควรศึกษาว่าสิ่งใดที่นำเข้าประเทศออสเตรเลียไม่ได้(opens in a new window) จะได้ไม่จัดใส่กระเป๋าติดตัวไปด้วย การนำยาเสพย์ติดที่รวมถึง กัญชา ใบกระท่อม เฮโรอีน และแอมเฟตามีน เข้าและออกจากประเทศออสเตรเลียเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนั้นยังมีสิ่งของบางประเภทที่ต้องสำแดงเมื่อเดินทางถึงออสเตรเลีย ได้แก่

  • อาวุธปืน อาวุธ และกระสุน
  • เงิน 10, 000 เหรียญออสเตรเลีย (หรือสกุลเงินต่างประเทศมูลค่าเทียบเท่า)
  • ยาบางประเภท
  • อาหาร พืช สัตว์ และสินค้าชีวภาพ

ส่วนหนึ่งของงานประจำของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและป้องกันพรมแดนคือการสุ่มถามผู้เดินทาง และยังมีสุนัขที่ได้รับการฝึกฝนให้ตรวจจับยาผิดกฎหมายหรือสิ่งของที่ห้ามมิให้นำเข้าประเทศ ถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ แนะนำให้สำแดงของสิ่งนั้นหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ การสำแดงของไม่ได้หมายความว่าคุณจะถูกตรวจสัมภาระเสมอไป ผู้ที่จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของหน่วยงานศุลกากรและป้องกันพรมแดนอาจถูกปรับ (opens in a new window) หรือถูกนำขึ้นชั้นศาลได้

การทำงาน ขณะที่กำลังศึกษาในประเทศออสเตรเลีย

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการเป็นนักศึกษาต่างชาติของ ออสเตรเลียคือ คุณได้รับอนุญาตให้ทำงานพิเศษได้ (วีซ่านักเรียนของประเทศออสเตรเลีย สามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ระหว่างที่คุณเรียนอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณไม่มีสิทธิเริ่มทำงานจนกว่าคุณจะได้เริ่มเรียนในหลักสูตรที่ลงทะเบียนไว้ และหากคุณมีครอบครัวของคุณเป็นวีซ่าผู้ติดตามมาด้วย ผู้อยู่ในอุปการะของคุณจะมีสิทธิทำงานได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เช่นกัน

เมื่อคุณได้เริ่มเรียนหลักสูตรของคุณในออสเตรเลีย ทั้งระดับภาษา อนุปริญญา ปริญญาโทหรือเอกไป แล้ว ผู้อยู่ในอุปการะของคุณก็จะมีสิทธิทำงานได้โดยไม่จำกัดชั่วโมง แต่ถ้าคุณหรือผู้อยู่ในอุปการะของคุณทำงานเกินกว่าข้อกำหนดข้างต้น วีซ่า ของคุณอาจจะถูกเพิกถอนได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีตราประทับวีซ่า (Visa label) ในหนังสือเดินทางของคุณเพื่อแสดงให้นายจ้างของคุณทราบว่าคุณได้รับอนุญาตให้ ทำงาน เพราะข้อมูลวีซ่าของคุณจะถูกเก็บไว้บนศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดย DIBP (Department of Immigration and Border Protection) และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาโดยใช้ระบบให้บริการตรวจสอบสิทธิวีซ่าออนไลน์ (VEVO) ดังนั้น นายจ้าง ธนาคาร และหน่วยงานบริการของรัฐก็จะสามารถตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิวีซ่าของ คุณได้ทาง VEVO เมื่อคุณยินยอมให้ตรวจสอบได้ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้บริการระบบ VEVO ได้จากเว็บไซต์ของ DIBP(http://www.immi.gov.au/Services/Pages/vevo.aspx)

ประเภทงานที่นักศึกษาต่างชาติทำได้

นักศึกษาต่างชาติมักจะได้งานทำในธุรกิจค้าปลีก การบริการ และงานธุรการ คุณจะได้ค่าแรงประมาณชั่วโมงละ A$6-15 เหรียญออสเตรเลีย ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ทำและอายุของคุณ คุณอาจได้ค่าแรงมากกว่านี้หากทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ การสอนพิเศษเด็กนักเรียนในสาขาที่คุณกำลังศึกษา อยู่หรือการสอนภาษาของคุณก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีในการหารายได้เช่นกัน การสอนพิเศษจะมีรายได้ประมาณ A$40 เหรียญออสเตรเลียต่อชั่วโมง

หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

คุณต้องขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax File Number – TFN) จากทางกรมสรรพากรออสเตรเลีย หากคุณต้องการจะทำงานในออสเตรเลีย นอกจากข้อมูลชื่อที่อยู่ปัจจุบันและวันเกิดแล้วคุณอาจจำเป็นต้องแจ้งวันที่เดินทางมาถึงออสเตรเลีย
รวมทั้งแสดงหนังสือเดินทางและหลักฐานการลงทะเบียนเรียนของคุณด้วย หมายเลข TFN ของคุณมีค่ามากห้ามบอกให้เพื่อนทราบ และห้ามให้หมายเลข TFN ของคุณทางอินเตอร์เน็ตเวลาที่สมัครงาน ควรเก็บรักษาให้ปลอดภัย

เตรียมอะไรไปบ้าง

ตรวจสอบให้ครบ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระเป๋าเดินทางที่แนะนำให้น้องๆ เตรียม ได้แก่

ชุดเเเต่งกาย

  1. ชุดนอน
  2. ชุดลำลอง
  3. ชุดทางการ
  4. กางเกงยีนส์หรือกางเกงที่ใส่สบายคล่องตัว
  5. เสื้อกันหนาวหรือแจ็คเก็ต

เครื่องเเต่งกาย

  1. ถุงเท้า/ ถุงมือ
  2. ผ้าพันคอ

รองเท้า

  1. รองเท้าแตะ
  2. รองเท้าผ้าใบ
  3. รองเท้าบูท (ถ้าไปช่วงหน้าหนาว)

อื่นๆ

  1. คอนแทคเลนส์ และน้ำยาล้างเลนส์
  2. แว่นตา
  3. แว่นกันแดด
  4. ชุดอุปกรณ์อาบน้ำ
  5. ครีมกันแดด
  6. เครื่องสำอางค์
  7. โลชั่นทาผิว
  8. ร่มพับ

ที่ชาร์ตแบตมือถือ อุปกรณ์แปลงไฟสำหรับท่านที่นำอุปกรณ์ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ในประเทศอังกฤษ อย่าลืมนำปากกาและสมุดจดบันทึกไปด้วยเพราะไปซื้อทีประเทศอังกฤษจะมีราคาสูงกว่า สิ่งสุดท้ายอย่าลืมนำอาหารและยาที่จำเป็น (ต้องมีใบกำกับยาจากแพทย์ในกรณีที่เป็นยาประจำตัว)

 

ข้อควรจำในการแพ็คกระเป๋า

น้าหนักกระเป๋า : สายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นักศึกษาที่จะเดินทางไปต่างประเทศนำสิ่งของไปได้ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ฉะนั้นท่านควรนำสิ่งที่จำเป็นติดตัวไปในปริมาณที่พอเหมาะ ท่านสามารถแยกเป็น 2 กระเป๋าใหญ่หรือจะนำไปเพียงกระเป๋าเดียวก็ได้นอกจากนี้ท่านควรมีประเป๋าเล็กที่ติดตัวขึ้นเครื่อง น้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ไว้สำหรับเก็บเอกสารสำคัญทางการเรียน (สำหรับ Jetstar นำขึ้นเครื่องบินได้ 10 กิโลกรัม)
เอกสารสำคัญที่ท่านต้องนำติดตัวขึ้นเครื่อง : ได้แก่ เอกสารสำคัญที่จะต้องโชว์ให้เจ้าหน้าเมื่อเจ้าหน้าที่ขอดูเอกสารที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เช่น พาสปอร์ตเล่มจริง, เอกสารยืนยันการลงทะเบียนจากสถานศึกษา (COE), ใบผลตรวจสุขภาพ, เอกสารรับรองที่พัก (Host family/Residential Hall)

การจัดเสื้อผ้า : เสื้อผ้า ควรตรวจสอบสภาพอากาศ ณ เดือนที่ท่านจะเดินทางหากเดินทางหน้าหนาวต้องติดเสื้อหนาวไว้กับตัว หรือในประเป๋าเล็กติดตัวขึ้นเครื่อง รองเท้า ควรเลือกที่ใส่สบายและควรติดรองเท้าผ้าใบไปด้วยเพราะสถาบันภาษา หรือ มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียมีบริเวณกว้าง และผู้คนก็นิยมเดินในระยะใกล้ รองเท้าที่เหมาะกับการเดินจึงขาดไม่ได้

แว่นตา : สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา ควรนำแว่นสายตาติดไปอย่างน้อย 2 อันเพราะการตัดแว่นใหม่ที่ประเทศออสเตรเลีย ท่านต้องทำการนัดกับจักษุแพทย์ซึ่งระยะเวลาการนัด การตรวจวัด และรอแว่นใหม่อาจเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และราคาแพงกว่าเมืองไทยมาก ท่านที่ใช้คอนแทคเลนส์ ควรนำไปหลายชุดให้พอเพียง พร้อมน้ำยาล้างเลนส์ เพราะราคาน้ำยาล้างเลนส์ที่ออสเตรเลียแพงกว่าเมืองไทยหลายเท่าตัวเช่นกัน

เมื่อถึงสนามบินสุวรรณภูมิ

  1. เช็คจากจอ Monitor ว่า สายการบินของท่านต้อง Check-in ที่ Counter ใด เมื่อเช็คอินแล้ว ท่านจะได้รับ Boarding Pass และ Luggage Tag ตามจำนวนกระเป๋าที่ท่านโหลด (ส่วนใหญ่ทุกสายการบินจะมีให้น้องๆทำ check-in Online ไว้ก่อนล่วงหน้าได้ค่ะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคิวนาน)
  2. ควรเดินเข้าเพื่อตรวจ Passport ขาออกที่กองตรวจคนเข้าเมือง Passport Control ก่อนเวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อเผื่อเวลาเดินเข้า Gate ในกรณีที่ Gate อยู่ไกล

 

เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแล้วต้องติดต่อใครบ้าง

สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล เมื่อท่านเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลียแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำได้คือ แจ้งให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศออสเตรเลีย (สนร.ออสเตรเลีย) ทราบเพื่อรายงานตัวการมาเรียน โดยสามารถติดต่อได้ที่

Office of Educational Affairs. Royal Thai Embassy (สนร.ออสเตรเลีย)
76 Hopetoun Circuit
Yarralumla, Canberra
ACT 2600
Australia
Tel: (02) 6281-1371
Fax: (02) 6285-3071
Website: http://www.ocsc.org.au

Email: oea@ocsc.org.au

และอย่าลืมแจ้งให้ทางมหาวิทยาลัยและทางที่พักทราบว่าคุณจะเดินทางไปถึงวันไหน สายการบินอะไร เวลากี่โมง ลองถามดูว่ามหาวิทยาลัยมีบริการมารับนักศึกษาต่างชาติที่สนามบินหรือไม่ จดรายละเอียดที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของคนที่คุณต้องติดต่อติดตัวไว้เสมอ ถ้าต้องเดินทางไปยังที่พักเอง ควรตรวจสอบวิธีการเดินทางและแลกเงินให้พอสำหรับค่ารถไปก่อนล่วงหน้า

เบอร์โทรอื่นๆ ที่ควรทราบ  : สถานทูตและกงศุลไทยประจำประเทศออสเตรเลีย

สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย
111 Empire Circuit, Yarralumla, ACT 2600
Tel: (02) 6272 3084
สถานกงสุลไทยประจำรัฐควีนส์แลนด์
87 Annerley Rd., South Brisbane, QLD 4102
Tel: (07) 3846 7771
สถานกงสุลไทยประจำรัฐวิคตอเรีย
Suite 301, 556 St Kilda Road, Melbourne, VIC 3004
Tel: (03) 9533 9100
สถานกงสุลไทยประจำรัฐเซาท์ออสเตรเลีย
Level 1, 72 Flinders Street, Adelaide, SA 5000
Tel: (08) 8232 7474
สถานกงสุลไทยประจำรัฐนิวเซาท์เวลส์
Level 8, 131 Macquaire St., Sydney, NSW 2000
Tel: (02) 9247 8312
สถานกงสุลไทยประจำรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
135 Victoria Ave, Dalkeith, WA 6009
Tel: (08) 9386 8092

DOWNLOAD AVAILABLE:สามารถดาวน์โหลดข้อมูล week1_FEB19

ข้อมูลโดย : สนร.ออสเตรเลีย BLOGGER (#KS_4FEB19)

และขอขอบคุณข้อมูลจากสถานทูตออสเตรเลียในประเทศไทย